กรอบลับแล (插屏-ชาผิง)...จากเครื่องเรือน...สู่งานศิลปวัฒนธรรมแห่งกาลเวลา

กรอบลับแล (插屏-ชาผิง)...จากเครื่องเรือน...สู่งานศิลปวัฒนธรรมแห่งกาลเวลา


          กราบสวัสดีลูกค้าร้าน ซีซีครีเอท (C.C.Create) ทุก ๆ ท่านครับวันนี้ผมอยากจะนำเสนออีกบทความที่น่าสนใจ ของกรอบภาพชนิดหนึ่ง ซึ่งมีประวัติอันยาวนานและมีรูปแบบที่น่าสนใจและน่าทำการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะลูกค้าท่านใดที่เคยศึกษาเรื่องการจัดเครื่องกระเบื้องลายคราม หรือเครื่องโต๊ะลายคราม ซึ่งมีประวัติอันยาวนานตั้งแต่สมัยในยุครัชกาลที่ 4 หรือลูกค้าท่านใดเคยไปร่วมงานประกอบพิธีกงเต็กก็ดี หรือเคยไปร่วมงานบูชาพระรัตนตรัยหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ยังวัดจีน หรือตามโรงเจต่าง ๆ เรามักจะพบผลงานศิลป์อันทรงคุณค่าอยู่ชนิดหนึ่งจะตั้งโดดเด่น และเป็นที่น่าสนใจมากที่สุดคือกรอบภาพชนิดหนึ่งที่แกะสลักลวดลายแบบจีนที่สวยงาม หรือถ้าเราเคยชมภาพก็ดี หรือเคยได้เห็นรูปแบบการจัดเครื่องโต๊ะด้วยเครื่องกระเบื้องลายครามก็ดี เราก็จะเรียกเจ้าสิ่งนี้ว่า "กรอบลับแล" หรือถ้าเราเห็นกรอบภาพสีแดงที่แกะสลักลวดลายอย่างจีนที่วิจิตรสวยงามที่ใส่ภาพวาดศิลป์อย่างจีนเป็นภาพวาดพระพุทธเจ้าก็ดี พระโพธิสัตว์ก็ดี หรือองค์เทพหรือเซียนต่าง ๆ เราก็จะเรียกกรอบภาพชนิดนี้ว่า "กรอบกงไป๋" แน่นอนครับสิ่งที่ผมจะพูดถึงก็คือกรอบภาพลับแล หรือกรอบภาพกงไป๋ ไม่น่าเชื่อว่าผลงานการแกะสลักไม้ที่เป็นกรอบภาพแบบนี้ถูกพูดถึง หรือแทบจะหาข้อมูลความเป็นมาได้ยากมาก หรือแม้กระทั่งหนังสือเรื่องเครื่องโต๊ะเเละถ้วยปั้น ของ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็แทบไม่ได้กล่าวถึงประวัติและที่มาของกรอบภาพลับแลเอาไว้เลย ซึ่งกรอบภาพลับแลจึงถือว่าเป็นของที่มีบทบาทความสำคัญ และขาดไม่ได้ในการจัดเครื่องโต๊ะลายคราม วันนี้ร้านซีซีครีเอทจึงอยากจะนำเสนอบทความของ กรอบลับแล (插屏 ชา-ผิง) หรือ กรอบกงไป๋ ว่ามีที่มาอย่างไรเนื่องจากตัวผมเองก็เป็นผู้หนึ่งที่ชื่นชอบศึกษาสะสมเกี่ยวกับเรื่องเครื่องโต๊ะ...เครื่องลายคราม และศึกษารูปแบบของกรอบลับแลในแบบต่าง ๆ รวมถึงทำการออกแบบและผลิตรูปแบบของกรอบลับแลที่เป็นรูปแบบที่เป็นเอกลัษณ์ของร้านเราเองโดยไม่ซ้ำแบบกับผู้ใด

กรอบลับแล (插屏 ชา-ผิง) หรือ กรอบกงไป๋ ใส่ภาพวาดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (วัดเทพพุทธาราม จ.ชลบุรี)
         

          ก่อนอื่นบทความนี้ต้องขอขอบคุณ ดร.ดิษฐวัฒน์ แก้วกาญจนดิษฐ์ (เฮียหมี) ประธานกลุ่มสมาคมผู้รักชาและวัฒนธรรมจีน ที่ช่วยหาข้อมูลของกรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) ว่ามีที่มาอย่างไร สำหรับกรอบลับแลจริง ๆ แล้วแต่เดิมในสมัยอดีตพัฒนามาจากงานจำพวกเครื่องเรือน หรือที่เราเรียกว่าฉากกั้นหรือ ผิง-เฟิง (屏风) และ อิ่ง-ปี้ (影壁) ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยต้นราชวงศ์ชิงของจีนมีความนิยมเป็นอย่างมาก โดยมีรูปแบบการใช้เพื่ออำนวยประโยชน์เอาไว้กั้นในส่วนต่าง ๆ ของอาคารบ้านเรือน เช่นทำเป็นที่บดบังส่วนต่าง ๆ ภายในราชวัง บ้านพักอาศัยเพื่อใช้ในการบดบังมุมหรือส่วนต่าง ๆ ที่ไม่พึงประสงค์และไม่อยากให้พูดอื่นเห็น หรือเป็นจุดปกปิดสายตาเมื่อมีแขกมาเยี่ยมเยือนเมื่อมองจากประตูทางเข้าหลักแล้วจะเห็นบรรยากาศต่าง ๆ ภายในบ้านทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นจุดสำหรับการเตรียมความพร้อมของเจ้าบ้านให้มีเวลาเตรียมตัวก่อนพบแขกผู้มาเยือน เช่นเตรียมจัดแต่งเสื้อผ้าให้เรียบร้อยดูดี หรือสำหรับมองแขกผู้มาเยือนว่าเป็นใคร มีจำนวนแขกมากี่ท่าน เป็นต้น โดยรูปแบบของฉากกั้นหรือ ผิง-เฟิง (屏风) และ อิ่ง-ปี้ (影壁) นั้นมีรูปแบบเป็นฉากกั้นขนาดใหญ่ มีลักษณะของการแกะสลักลวดลายให้สวยงาม หรืออาจจะใส่ผ้าปัก ภาพวาด หรือแผ่นหินขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งดังที่กล่าวมาในเบื้องต้นกรอบลับแลเมื่อครั้งแรกในการนำมาใช้ประโยชน์นั้นจึงถูกทำขึ้นมาเพื่อใช้ในการบดบังทัศนียภาพในจุดต่าง ๆ เราจะเห็นรูปแบบของฉากกั้นหรือ ผิง-เฟิง (屏风) และ อิ่ง-ปี้ (影壁)หรือกรอบลับแลขนาดใหญ่นี้ จากภาพยนต์หรือซีรีย์จีนในหลากหลายเรื่อง จากฉากกั้นหรือ ผิง-เฟิง (屏风) และ อิ่ง-ปี้ (影壁) ในรูปแบบเครื่องเรือนขนาดใหญ่ มาสู่ผลงานศิลปะมงคลขนาดเล็กในรูปแบบของกรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) ได้อย่างไร...วัตถุประสงค์หรือรูปแบบที่เปลี่ยนไป...ก็เพื่อใช้ในการโชว์ ในการรักษาผลงานที่ทรงคุณค่า เช่นใส่ภาพเขียนหรือภาพว่าด ใส่ผลงานแผ่นกระเบื้องลายคราม ใส่แผ่นหยกแกะสลัก ใส่แผ่นหินที่มีลวดลายธรรมชาติ ใส่ภาพอักษรมงคล และสิ่งของอันทรงคุณค่าต่างๆ ตามความต้องการเพื่อใช้ในการประดับตกแต่งโต๊ะบูชา เป็นของตกแต่งพระราชวัง-บ้านเรือนอาศัยเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล และสวยงาม โดยมีการปรับขนาดหรือสัดส่วนให้มีขนาดที่เล็กลงจากฉากกั้นที่มีขนาดใหญ่ สู่ของตกแต่งพระราชวัง-บ้านเรือนของเหล่าเชื่อพระวงศ์ และคหบดี จึงก่อให้เกิดผลงานศิลปะอันสวยงามจากเชิงช่างผู้ชำนาญ จากการออกแบบรูปทรง ลวดลาย และฝีมือในการแกะสลัก เพื่อให้กรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) ที่ทำนั้นมีรูปแบบทรวดทรงที่โดดเด่นสวยงามเหมาะสมกับชิ้นวัตถุต่าง ๆ ที่จะนำมาใส่ในกรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) ดังนั้นช่างผู้ผลิตจึงต้องมีความโดดเด่นทั้งแนวความคิดในการออกแบบ และมีฝีมือการแกะสลัก จึงถือได้ว่ากรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) จึงเป็นสิ่งของที่มีความสวยงามทรงคุณค่าซึ่งมีหน้าที่หลักในการรักษาวัตถุอันทรงคุณค่าต่าง ๆ ที่นำมาใส่ และในขณะเดียวกันก็เป็นส่วนที่เสริมมูลค่าและความสวยงามให้กับสถานที่ต่าง ๆ ที่นำไปจัดวาง สำหรับกรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดนั้นเกิดขึ้นในสมัยต้นราชวงศ์ชิง โดยกรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) แบบประดับนี้ได้แบ่งออกเป็นสองชนิดด้วยกัน คือลับแลแบบตั้งโต๊ะ (ชา-ผิง 插屏) กับลับแลแบบแขวน (กว้า-ผิง 挂屏) สำหรับกรอบลับแลแบบประดับตกแต่งทั้งสองประเภทนี้นั้น วัสดุที่นิยมนำมาทำเป็นตัวกรอบจะทำมาจากไม้เนื้อแข็ง และทำการเจาะหรือเว้นช่องตรงกลาง มักจะนำวัสดุหลากหลายชนิดมาใส่เพื่อตกแต่ง เช่นไม้แกะสลัก แผ่นหินธรรมชาติที่มีลวดลายตามจินตนากาลต่าง ๆ ผ้าไหมปัก ภาพอักษรจีน ภาพวาด ภาพวาดแผ่นกระเบื้อง หรืออื่น ๆ ตามแต่จะนึกประดิษฐ์ขึ้นมา
          แน่นอนว่ากรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) ได้เข้ามามีบทบาทในสยามประเทศในรูปแบบเครื่องบรรนากาลตั้งแต่สมัยอดีต มาในรูปแบบกรอบภาพแบบต่าง ๆ และนิยมมากสุดก็คือกรอบภาพลับแลที่ใส่ภาพวาดกระเบื้องเคลือบลายคราม ภาพมงคลชนนิดต่าง ๆ ซึ่งในยุคสมัยนั้นประเทศจีนซึ่งมีความสามารถเป็นอย่างยิ่งในการทำเครื่องเคลือบในแบบต่าง ๆ เช่นเครื่องเคลือบเขียนลายคราม เครื่องเคลือบเขียนสี ถูกทำเป็นภาชนะต่าง ๆ ในรูปแบบที่วิจิตรบรรจง และรวมถึงภาพมงคลในแบบต่าง ๆ ในแผ่นกระเบื้อง จนเข้าถึงสมัยรัชกาลที่ 3 เครื่องกระเบื้องลายครามต่าง ๆ รวมถึงกรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) มีมากในพระบรมหมาราชวังจึงมีพระราชประสงค์จัดโต๊ะบูชาขึ้น โดยในยุคสมัยของพระองค์จึงนำเครื่องเรือนจากจีน ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะในรูปแบบต่าง ๆ หรือโต๊ะที่มีขนาดใหญ่เล็กนำมาจัดเพื่อเป็นการถวายสักการะแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงริเริ่มให้มีการทำโต๊ะหมู่บูชา หรือม้าหมู่ ขึ้นเพื่อตั้งเครื่องสักการะในการบูชาพระรัตนตรัย โดยทรงเล็งเห็นว่าโต๊ะอย่างประเทศจีนมีการทำหลากหลายรูปแบบ หลากหลายทรง มีความสูงต่ำไม่เท่ากัน จึงทรงมีพระราชดำหริขึ้นในครั้งนั้น คือให้จัดทำม้าหมู่เพื่อใช้เป็นพุทธบูชา โดยทำการเรียนแบบโต๊ะอย่างจีนที่มีการแกะสลักลวดลายที่สวยงาม มีรูปแบบสูงต่ำหลากหลายขนาด ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์จึงเกิดขึ้นเป็นชุดโต๊ะหมู่บูชา หรือ ม้าหมู่ชุดแรกมีจำนวน 21 ตัว ถวายมอบให้แก่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) และจัดทำแบบโต๊ะหมู่หรือม้าหมู่แบบ 4 ตัว ถวายที่วัดวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร พร้อมกับนำเครื่องกระเบื้องจากประเทศจีนนำมาประดับตกแต่งภายในโต๊ะหมู่หรือม้าหมู่เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จนเข้าถึงในช่วงรัชกาลที่ 4 พระองค์จึงทรงเริ่มประดิษฐ์การตั้งโต๊ะอย่างไทยขึ้น เมื่อแรกนั้นเป็นการตั้งโต๊ะอย่างโต๊หมู่มีเครื่องประกอบเป็นอย่างดั้งเดิมคือแจกันคู่หนึ่ง เชิงเทียนคู่หนึ่งและกระถางธูปหนึ่งใบ ต่อมาพระองค์จึงทรงดำหริให้มีการคิดตั้งโต๊ะบูชาอย่างจีน (โต๊ะจีน) ขึ้นโดยการนำเครื่องกระเบื้องจีนที่อยู่ในพระบรมหาราชวังจัดบนโต๊ะสี่เหลี่ยมตัวเดียวซึ่งในสมัยก่อนเราเรียกโต๊ะสี่เหลี่ยมแบบนี้ว่าโต๊ะโขลก เนื่องจากเป็นโต๊ะทรงสี่เหลี่ยมด้านเท่าที่พระจีนหรือพระญวณใช้นั่งสวดมนต์ โดยมีอุปกรณ์เครื่องดนตรีสำหรับสวนมนต์เคาะเป็นจังหวะราวเหมือนการโขลกเครื่องแกงต่าง ๆ ก็มิปาน เราจึงเรียกโต๊ะทรงสี่เหลี่ยมที่มาจากจีนว่าโต๊ะโขลก มาทำการจัดตั้งเครื่องกระเบื้องต่าง ๆ ขึ้นไปที่โต๊ะโดยการจัดเรียงให้มีระดับสูงต่ำไม่เท่ากัน โดยการนำโต๊ะหรือม้า หรือ กี๋ หย่อง หลากหลายขนาดจากจีน มาตั้งเป็นฐานและจัดวางเครื่องกระเบื้องต่าง ๆ จากประเทศจีน เช่นแจกันทรงต่าง ๆ กระบอกสำหรับใส่ม้วนภาพ ชาม โถ จาน ถ้วย ชุดชงชา ตุ๊กตาจีน ซึ่งรูปแบบการตั้งโต๊ะแบบนี้เป็นการจัดวางเพื่อให้เกิดมิติที่สวยงาม สูงต่ำลดหย่อนกันไป ซ้อนกันจากหน้าไปหลังทำให้บนโต๊ะวางชิ้นกระเบื้องได้จำนวนมาก ๆ และมีมุมเหลื่อมสายตาหนาแน่นสวยงามเพื่อใช้ถวายเป็นพุทธบูชา และในสมัยนั้นการตั้งโต๊ะบูชาอย่างจีนนี้ยังนำมาใช้ในการตั้งรับเสด็จเจ้านายหรือพระชั้นผู้ใหญ่รวมไปถึงการตั้งแข่งประกวด-ประชันกันเพื่อความเพลิดเพลินของระดับเจ้านาย ขุนนางและคหบดี นิยมมากสูงสุดในช่วงยุคสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงมีการออกกฏกติกาตีพิมพ์ออกมาเป็นกฏรูปแบบในการตั้งโต๊ะบูชาอย่างจีนให้ถูกต้องเหมาะสมดังจะหาอ่านได้จากหนังสือเรื่อง เครื่องโต๊ะเเละถ้วยปั้น ของ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
          โดยรูปแบบของการตั้งเครื่องโต๊ะอย่างจีนนั้น มีกระบวนลายของเครื่องกระเบื้องต่าง ๆ เช่นลายมังกร ลายหงส์ ลายเซียน ลายวิวทิวทัศน์ ลายฮก ลก ซิ่ว เป็นต้น ซึ่งแน่นอนครับจากการเกริ่นนำในเรื่องของที่มาในการตั้งเครื่องโต๊ะอย่างจีนนั้น กรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) ก็เป็นหนึ่งในสิ่งของที่ถูกจัดวางบนเครื่องโต๊ะอย่างจีน ซึ่งถือว่าเป็นของโชว์ชิ้นที่สำคัญชิ้นหนึ่งที่จะขาดไปมิได้เลย โดยกฏข้อบังคับบังคับของการตั้งเครื่องโต๊ะอย่างจีนนั้น ไม่ว่าจะตั้งเครื่องกระเบื้องเป็นรูปแบบลายใดก็ตาม หรือจะตั้งแจกัน เชิงเทียน กระถางเผาเครื่องหอม กระถางธูป ชาม หรือกระบอกเสียบภาพ ซึ่งกรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) ย่อมต้องเป็นสิ่งของที่บังคับว่าต้องมีและถูกจัดวางอยู่ตรงกลาง และอยู่จุดที่สูงที่สุดและเป็นสิ่งของบังคับที่ต้องมีในการจัดเครื่องโต๊ะอย่างจีน ดังนั้นกรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) จึงเป็นชิ้นเครื่องโต๊ะที่ล้ำค่าและมีความสำคัญมากที่สุดเพราะเป็นสิ่งของในหนึ่งสิ่งที่ถูกบังคับให้การตั้งเครื่องโต๊ะบูชาอย่างจีนต้องมี ซึ่งแน่นอนโดยมากแล้วกรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) จึ่งจัดเป็นของหายากในสมัยอตีตสำหรับผู้ต้องการจะตั้งเครื่องโต๊ะอย่างจีน จึงทำให้ในสมัยอดีตจะต้องสั่งทำขึ้นจากประเทศจีนทั้งการแกะสลักตัวกรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) และแผ่นกระเบื้องลายครามภายใน แล้วค่อยนำมารวมกับเครื่องกระเบื้องชิ้นต่าง ๆ ที่จะจัดขึ้นมาเป็นเครื่องโต๊ะอย่างจีน ซึ่งลายละเอียดปลีกย่อยก็สามารถไปหาอ่านได้จากหนังสือเรื่อง เครื่องโต๊ะเเละถ้วยปั้น ของ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ครับ

รูปแบบการจัดเครื่องโต๊ะอย่างจีน (โต๊ะจีน) เมื่องครั้งจัดงานครบรอบ 5 ปี สมาคมผู้รักชาและวัฒนธรรมจีน

ณ พระอุโบสถวัดสังข์กระจายวรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ สังเกตุว่าจะมีการตั้งกรอบลับแล หรือ ชา-ผิง (插屏) อยู่ที่โต๊ะบูชาแต่ละชุด


         จากประวัติความเป็นมาและข้อมูลในเบื้องต้นคงจะพอทราบถึงที่มาของกรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) จากเครื่องเรือน สู่ของประดับตกแต่งอาคารบ้านเรือนเพื่อบ่งบอกฐานะ สู่ของชิ้นสำคัญในการตั้งเครื่องโต๊ะอย่างจีนในสมัยอดีต มาสู่กรอบใส่ภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จากที่กล่าวมาเราจะเห็นเส้นทางการเดินทางของกรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) จากประเทศจีนสู่ประเทศไทยเราแทบจะไม่เชื่อเลยว่าเส้นทางการเดินทางของ กรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) มีที่มาได้น่าสนใจมาก นี่คือเหตุผลหนึ่งที่กรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) จึงเป็นสิ่งของที่มีมูลค่าทางวัฒนธรรมและเป็นของที่หายากเป็นอย่างมาก ซึ่งจากการศึกษาหาข้อมูลพบว่ากรอบลับแล 插屏 (ชาผิง) บางกรอบที่เป็นงานเก่า ๆ ไม่ว่าจะใส่แผ่นหินธรรมชาติ แผ่นกระเบื้องโบราณ หรือใส่ภาพวาดก็ดี มีราคาแพงแสนแพง ซึ่งกรอบลับแลเก่า ๆ โดยมากแล้วจะเป็นงานจากช่างฝีมือจากทางประเทศจีนเอง ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีการผลิตอย่างต่อเนื่องเพียงแต่ฝีมือและรูปแบบในการทำชิ้นงานก็ลดลายละเอียดหรือความสวยงาม และปราณีตลงตามกาลเวลาและยุคสมัย ท่านจะเห็นผลงานกรอบลับแล 插屏 (ชาผิง) ที่มีการสั่งมาจำหน่ายจากทางเมืองจีนจะพบว่าชิ้นงานก็จะป็นแบบที่เรียบง่าย ผลิตแบบง่าย ๆ ไว ๆ ขาดความสวยงาม ทำเป็นรูปแบบ รูปทรงง่าย ๆ และขนาดจะซ้ำ ๆ มีขนาดให้เลือกน้อยมาก และแลดูไม่มีความสวยงาม ซึ่งข้อนี้เองทำให้ทางร้านซีซีครีเอท (C.C.Create) จึ่งเล็งเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมความเป็นมาของชิ้นงานที่เรียกว่ากรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) ให้กลับมามีวิถีที่สวยงามอีกครั้ง โดยทำการออกแบบงานขึ้นมาให้ให้มีรูปแบบที่สวยงาม มีความละเอียด มีเอกลักษณ์ เป็นรูปแบบวัฒนธรรมจีน รวมถึงการใช้ลวดลายต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมานั้นก็เน้นเรื่องของความหมายที่เป็นวัฒนธรรมจีนที่ถูกต้อง ทั้งสวยงามและมีความหมายที่ถูกต้องเน้นความหมายที่มีความเป็นมงคล เพื่อให้ผู้ที่นำไปใช้ได้เสพทั้งความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งแฝงด้วยความหมายแห่งความเป็นมงคลของลวดลายต่าง ๆ ที่เราได้ออกแบบและถูกจัดวางลงไปในผลงาน มิใช่เพียงแต่เลือกลวดลายใส่เข้าไปในชิ้นงานแต่ขาดซึ่งความรู้และความเข้าใจในอัตลักษณ์ของความหมายในวัฒนธรรมจีนที่แฝงด้วยความเป็นสิริมงคง

ผลงานรูปแบบกรอบลับแล "ลายดอกพุดตาน" ใส่ภาพวาด ของร้าน C.C.Create

สามารถ คลิก เพื่อเข้าไปชมลายละเอียด


          รูปแบบของกรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) ของร้านซีซีครีเอทนั้น ลูกค้าทุก ๆ ท่านสามารถกำหนดขนาดความเหมาะสมได้ตามความต้องการของชิ้นงานชนิดต่าง ๆ ตามที่ลูกค้ามีความประสงค์ที่จะทำดังนั้นผลงานของทางร้านเราจึงสามารถกำหนดขนาดต่าง ๆ ได้หลากหลายต่อความต้องการของลูกค้า อีกทั้งเรื่องของรูปแบบลวดลายต่าง ๆ ที่เรานำมาทำการแกะสลักลงไปบนชิ้นงานของกรอบลับแลนั้น เป็นลวดลายที่มีความละเอียดสวยงามซึ่งงานแกะสลักจากมือ...ยากที่จะสามารถรังสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพงานละเอียดสวยงามได้อย่างเรา อีกทั้งงานก็จะมีความเรียบร้อย นี่คือจุดประสงค์หลัก ๆ ของทางร้านซีซีครีเอทที่เราอยากจะอนุรักษ์ความเป็นวัฒนธรรมของกรอบลับแล 插屏 (ชา-ผิง) เผื่อให้สิบทอดต่อไปในวัฒนธรรมร่วมสมัยไปตราบนานแสนนาน จากบทความที่ได้กล่าวมาทั้งหมดในเบื้องต้น ทางเราหวังว่าท่านจะได้ทราบถึงรูปแบบและความเป็นมาในเบื้องต้นของลับแล 插屏 (ชาผิง) ว่ามีเส้นทางที่มาอย่างไร เข้าใจถึงเหตุวัตถุประสงค์ในการใช้งานและเข้าใจว่าการผลิตงานลับแล 插屏 (ชาผิง) ของร้านซีซีครีเอทที่มุ่งเน้นผลงานที่มีคุณภาพและใส่ใจในรายละเอียดตั้งแต่กระบวนการออกแบบจนถึงการผลิตผลงานที่มีความสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์ในแบบร้านซีซีครีเอท (C.C.Create)

ผลงานรูปแบบกรอบลับแล "กรอบลับแลลาย 9 มังกรมงคล" ใส่ภาพวาด ของร้าน C.C.Create

สามารถ คลิก เพื่อเข้าไปชมลายละเอียด

 

 

สามารถ คลิก เพื่อเข้าไปรับชมผลงานกรอบลับแล หรือ ชา-ผิง (插屏) ในแบบต่าง ๆ ของทางร้านได้เลยครับ

 

ขอบพระคุณครับ
สนใจสอบถาม โทร.088-651-7895 / ID.Line:c.c.create
คลิก เพื่อพูดคุยสอบถามขอมูลต่าง ๆ

 

 

 

Visitors: 42,900