เทศกาลไหว้พระจันทร์ จากตำนาน สู่งานศิลป์ (Art of Moon Cake)

เทศกาลไหว้พระจันทร์ จากตำนาน สู่งานศิลป์ (Art of Moon Cake)


      เมื่อเข้าสู่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน (ในประเทศไทยช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี) ในทุก ๆ ปี เป็นช่วงเทศกาลแห่งความสุขสันต์สำหรับเหล่านักชิม และผู้ที่นิยมในรสขนมหวานที่มีมีรูปทรงสวยงาม มีไส้ที่หลากหลาย มีรูปแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ และได้ชิมขนมโบราณของชาวไทยเชื้อสายจีนแบบแปลก ๆ ซึ่งจะได้ลิ้มรสชาติแค่เพียงในช่วงระยะเวลานี้ เราแทบจะไม่เชื่อเลยว่าขนมไหว้พระจันทร์ หรือ Moon Cake จะมีประวัติอันยาวนานและน่าสนใจมาจนถึงทุกวันนี้ ผมเองก็เป็นบุคคลหนึ่งซึ่งในช่วงเวลาวัยเด็กจะรอคอยช่วงเวลาแห่งความสุข เราจะได้เห็นความสนุกสนาน ความสวยงาม ความพร้อมหน้าพร้อมตาของครอบครัว และได้ชิมขนมอันแสนอร่อยที่จะหาชิมได้แค่พียงในช่วงเวลานี้เพียงเท่านั้น และที่สำคัญเราจะได้สะสมกล่องใส่ขนม หรือบรรจุภัณฑ์ที่มีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายรูปทรง ซึ่งจะรอเก็บสะสมเมื่อผู้ใหญ่รับประทานขนมภายในเรียบร้อยก็จะถึงคราวที่เด็ก ๆ รอกล่องที่ใส่ขนมนำมาใส่ของต่าง ๆ ตามความต้องการ เช่นของเล่น การ์ด ส.ค.ส. ของสมสมจิปาถะ กิ๊ปติดผม หรือเก็บอุปกรณ์งานเย็บปักถักร้อยต่าง ๆ เป็นต้น ผมเองเป็นคนหนึ่งครับที่ชอบศึกษารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ในแบบศิลปะจีน จนถึงชอบภาพวาดที่พิมพ์อยู่บนกล่องใส่ขนมเปี๊ยะ หรือกล่องใส่ขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งพิมพ์ขึ้นมาเป็นแบบเฉพาะและเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละร้าน เพราะเป็นศิลปะที่สวยงามภาพต้นฉบับก็คงจะเป็นภาพวาดของศิลปินรุ่นเก่าที่บรรจงวาดภาพออกมาได้อ่อนช้อยสวยงามมีเรื่องราว และได้นำมาตีพิมพ์ลงบนกระดาษใส่ชื่อร้าน หรือยี่ห้อของร้านนั้น ๆ เพื่อนำมาเป็นบรรจุภัณฑ์ของแต่ละร้าน และรวมถึงรูปแบบทรวดทรง ลวดลายที่อยู่บนหน้าขนมไหว้พระจันทร์ ในรูปแบบต่าง ๆ เรียกได้ว่าชื่นชอบตั้งแต่ประเพณีความเป็นมา จนถึงรูปแบบของขนมในช่วงเทศกาลนี้เลยก็ว่าได้....


     วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า : เทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือ เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง (อังกฤษ: Moon Festival, Mid-Autumn Festival; จีนตัวย่อ: 中秋节; จีนตัวเต็ม: 中秋節; พินอิน: zhōngqiū jié; เวียดนาม: Tết Trung Thu) เป็นเทศกาลตามวัฒนธรรมจีนที่มีขึ้นในกลางฤดูใบไม้ร่วง เพื่อเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว จะมีขึ้นในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ (กันยายนตามปฏิทินสากล) ในเทศกาลนี้ ชาวจีนจะเฉลิมฉลองด้วยการไหว้ดวงจันทร์ในเวลากลางคืน ในบางประเทศ เช่น สิงคโปร์ หรือเวียดนาม จะจัดเป็นประเพณีใหญ่ มีการเฉลิมฉลองด้วยโคมไฟสีแดง เป็นสีสันยามค่ำคืน หรือบางแห่งอาจมีการเชิดมังกร ทั้งนี้จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่น ส่วนในประเทศไทย พื้นที่ที่มีการจัดเทศกาลนี้อย่างยิ่งใหญ่ และปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิม นั่นก็คือ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ในตำบลทุ่งยาว และถือได้ว่าเป็นชุมชนเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยในขณะนี้ ที่ยังคงยึดถือธรรมเนียมดังกล่าวนี้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้แล้ว ยังมีขนมชนิดหนึ่ง เรียกว่า "ขนมไหว้พระจันทร์" (月饼) ที่มีสันฐานกลมคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้ง มีไส้ต่าง ๆ เป็นธัญพืช ใช้เซ่นไหว้และรับประทานกันจนเป็นเอกลักษณ์สำหรับเทศกาลนี้
     สำหรับข้อมูลประวัติความเป็นมาของเทศกาลไหว้พระจันทร์จะมีประวัติความเป็นมามากมายหลากหลายเรื่องราว สำหรับข้อมูในเรื่องนี้เราสามารถหาอ่านได้จากช่องทางต่าง ๆ มากมายหลากหลายครับ ผมคงจะไม่ได้นำเสนอให้ได้อ่านกัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือผมอยากจะพูดถึงสิ่งสำคัญในเทศกาลนี้ก็คือ "ขนมไหว้พระจันทร์ -月饼-yuèbǐng อ่านว่า เยว่ปิ่ง (Moon Cake)" เราคงจะปฎิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์นี้เป็นช่วงที่หลาย ๆ ท่านรอคอยที่จะได้รับประทานขนมไหว้พระจันทร์อร่อย ๆ ในช่วงเทศกาลนี้ แน่นอนครับปัจจุบันในยุคที่โซเชี่ยลเปิดกว้าง ขนมไหว้พระจันทร์ที่อร่อย ๆ ก็ถือกำเหนิดขึ้นอย่างมากมาย ทั้งขนมที่เป็นยี่ห้อดัง ๆ หรือจากโรงแรมขึ้นชื่อที่ทำออกมาผลิตและจำหน่ายขนมไหว้พระจันทร์มากมายหลากหลายไส้ หรือรวมถึงรายย่อย ๆ ที่มีฝีมือการทำขนมไหว้พระจันทร์ที่มีความอร่อยที่ตกทอดสูตรการทำกันมารุ่นต่อรุ่น จนรสชาติมีความอร่อยทัดเทียมกับรายใหญ่ ๆ ได้สบายจึงทำให้ขนมไหว้พระจันทร์เกิดขึ้นมาหลากหลายเจ้าโดยที่เราอาจจะไม่เคยเห็นหรือรู้จักมาก่อน จึงทำให้ขนมไหว้พระจันทร์ได้ถือกำเหนิดเกิดขึ้นอย่างมากมายหลากหลายราย จากมหากาพย์สงครามการขายขนมไหว้พระจันทร์ในรายใหญ่ ๆ ที่สามารถซื้อสื่อการโฆษณาจากช่อง T.V.ในสมัยอดีต เข้าสู่การแข่งขันในโลกโซเชียลที่วัดกันด้วยฝีมือของรสชาติ ความหลากลายของไส้ขนม และรูปแบบความสวยงามของตัวขนมเอง ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา....
     สำหรับขนมไหว้พระจันทร์จากสมัยอดีตจากประเทศจีนซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเหนิดนั้น มีข้อมูลของรูปแบบขนมไหว้พระจันทร์ที่น่าสนใจมากครับ ผมจึงอยากรวบรวมข้อมูลรูปแบบของขนมไหว้พระจันทร์จากทางเมืองจีนที่ได้รับความนิยม 5 ชนิด หรือ 5 มณฑลของประเทศจีนไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้นไว้ดังนี้คือ

     ขนมไหว้พระจันทร์ของมณฑลกวางตุ้ง คือรูปแบบขนมไหว้พระจันทร์ในรูปแบบที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมมากที่สุดของจีนของจีน โดยรูปแบบของขนมไหว้พระจันทร์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นที่หมู่เกาะฮ่องกงซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มชาวจีนเชื้อสายกวางตุ้ง ได้ไปตั้งรกรากและใช้ชีวิตอยู่ทางแถบนั้นมากที่สุดโดยได้นำวัฒนธรรมการทำขนมไหว้พระจันทร์ในลักษณะนี้ไปด้วยในตอนที่ได้ย้ายถิ่นฐานจากทางตอนใต้ของจีนสู่หมู่เกาะฮ่องกง และได้ทำการพัฒนาแตกแขนงรูปแบบของตัวขนม รูปแบบของไส้ขนมไว้ต่าง ๆ มากมายโดยการใช้วัตถุดิบและฝีมือที่ละเอียดประณีต สำหรับรูปแบบของตัวขนมไหว้พระจันทร์ในลักษณะนี้คือแป้งข้างนอกจะนุ่มนวล ไส้มีหลายอย่าง เช่น ถั่วแดง เม็ดบัว ไข่แดงเค็ม ธัญพืช ไส้ผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น รสชาติจะหวาน มีรูปทรงและลวดลายของตัวขนมสวยงาม สำหรับรูปแบบขนมแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศจีนและประเทศไทย และยังเป็นรูปแบบของขนมไหว้พระจันทร์ที่เป็นแบบที่นิยมอยู่จนถึงปัจจุบัน และเป็นรูปแบบของขนมไหว้พระจันทร์ที่รู้จักกันมากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้


     ขนมไหว้พระจันทร์ของมณฑลกวางตุ้งเป็นรูปแบบของขนมไหว้พระจันทร์ที่นิยมตลอดกาล

มีหลายหลายรูปแบบ หลายขนาด และมีไส้ที่หลากหลาย

      ขนมไหว้พระจันทร์ของมณฑลทางภาคเหนือ เนื้อแป้งข้างนอกจะมีความหนากว่ารูปแบบขนมไหว้พระจันทร์แบบกวางตุ้ง เนื้อสัมผัสตัวขนมจะไม่นุ่มนวลแต่จะมีเนื้อสัมผัสแบบคุ๊กกี้ ตัวเนื้อไส้จะไม่หวานมากมีไส้ธัญพืช คือถั่วลิสง เมล็ดทานตะวัน อัลมอนด์ งา ไส้ผลไม้ต่าง ๆ และธัญพืชต่าง ๆ ตามท้องถิ่น

   ขนมไหว้พระจันทร์แบบมณฑลเจียงซู เป็นรูปแบบขนมเมืองซูโจว เป็นขนมที่ประชาชนของมณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียงนิยมเป็นอย่างมาก ลักษณะของตัวขนมที่แป้งจะทำเป็นหลาย ๆ ชั้นโดยทำการอบให้กรอบ ตัวขนมจะมีกลิ่นหอมจากการอบ รูปแบบของขนมไหว้พระจันทร์ในแบบนี้จะมีตัวไส้ที่หวานมาก โดยตัวไส้จะใส่เนื้อสัตว์ปรุ่งรสให้มีความหวานเนื่องจากชาวเจียงซูชอบกินรสหวาน และจะมีการปรุงรสโดยใส่เกลือและน้ำตาลผสมในเนื้อสัตว์ จึงทำให้มีรสชาติที่แปลกไม่เหมือนกับที่ใด

     ขนมไหว้พระจันทร์แบบมณฑลหยุนหนาน จะมีรูปแบบขนมไหว้พระจันทร์ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง โดยมีรูปแบบแป้งเหมือนกับมณฑลทางภาคเหนือของจีน ตัวไส้จะทำจากแฮมหยุนหนานที่เป็นเนื้อสัตว์โดยรสชาติจะมีรสหวานและเค็มโดยความเค็มจะเกิดจากเนื้อแฮม ปัจจุบันขนมไหว้พระจันทร์ประเภทนี้จะรับประทานได้ที่ทางจังหวัดเชียงราย หรือตามช่องทางโซเชี่ยลที่ทำการตลาดมากมาย
    ขนมไหว้พระจันทร์แบบซัวเถา หรือเมืองแต้จิ๋ว ซึ่งรูปแบบของขนมไหว้พระจันทร์ของชาวซัวเถาหรือชาวแต้จิ๋ว ซึ่งในกลุ่มชาวจีนแต้จิ๋วกลุ่มนี้จะมีเชื้อสายอยู่มากในประเทศไทย หรือชาวไทยเชื้อสายจีนนั่นเองซึ่งรูปแบบของขนมไหว้พระจันทร์ของชาวแต้จิ๋วนั้นจะมีรูปแบบหลัก ๆ ถึง 3 รูปแบบด้วยกันคือ
          1. ชนิดแรก เรียกว่าหง่วยเปี้ย หง่วยเปี๊ยะ (ขนมเปี๊ยะกรอบหน้างา) ลักษณะจะเป็นแผ่นแบบกลมแบน ผิวแป้งจะกึ่งกรอบร่วน ลักษณะคล้ายขนมปังแบบหนา ๆ โรยงาเต็มแผ่น ตัวไส้จะมีกลิ่นหอมผิวส้มเนื้อไส้จะเป็นฟักเชื่อมรสหวาน สำหรับขนมไหว้พระจันทร์แบบนี้ปัจจุบันเราหาซื้อรับประทานได้ทั้งปี และสามารถหาซื้อได้ตามร้านขนมเปี๊ยะชื่อดังต่าง ๆ ตามย่านเยาวราช หรือช่องทางออนไลน์ดทั่วไปครับ

 หง่วยเปี้ย หง่วยเปี๊ยะ (ขนมเปี๊ยะกรอบหน้างา)

 

         2. ชนิดที่สอง เรียกว่าง๊วยกอ แปะกอ (ขนมโก๋ขาว) ตัวขนมมีส่วนผสมหลักที่สำคัญคือ แป้งข้าวเหนียวกับน้ำตาลทราย มีรสชาติหวานเมื่อทานไปแล้วจะละลายในปาก ตัวขนมจะทำเป็นแผ่นบาง ๆ เป็นวงกลมสีขาว ซึ่งมีทั้งแบบที่มีไส้ และไม่มีไส้ บางชนิดหรือบางรูปแบบจะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมก็มีเราจะเรียกขนมชนิดนี้ว่าจือแชะกอ (ขนมโก๋ไพ่) เป็นขนมอีก 1 ชนิดที่สามารถเก็บไว้ได้นานและเป็นอีกหนึ่งชนิดขนมของขนมไหว้พระจันทร์ของชาวจีนแต้จิ๋ว

 ง๊วยกอ แปะกอ (ขนมโก๋ขาว)

 

          3.ชนิดที่สาม เรียกว่าหล่ากอ (ขนมโก๋นิ่ม-ขนมโก๋อ่อน) มีลักษณะจะเป็นแผ่นกลมแบน เนื้อแป้งเหนียวนุ่มรสชาติหวาน ตัวไส้เป็นถั่วเขียวกวนผสมเม็ดกวยจี๊ (เมล็ดแตงโม) หรือไส้ฟักเชื่อมผสมเม็ดกวยจี๊ (เมล็ดแตงโม) ขนมแบบนี้เป็นขนมแต้จิ๋วแบบโบราณในสมัยอดีต มีเอกลักษณ์รสชาติไม่เหมือนใครจะหาทานได้แค่ช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์เท่านั้น ค่อนข้างจะเสียง่าย เวลาไหว้เสร็จต้องรีบเก็บเข้าตู้เย็นทันที หรือรีบรับประทานเลย ขนมชนิดนี้จัดว่าเป็นของดี อร่อยและหารับประทานได้ยากมากดังที่กล่าวในเบื้องต้นซึ่งจะหาทานได้เฉพาะช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์เพียงเท่านั้น

หล่ากอ (ขนมโก๋นิ่ม-ขนมโก๋อ่อน)


    จากที่กล่าวมาในข้างต้นปัจจุบันรูปแบบขนมไหว้พระจันทร์มีมากมายหลากหลายรูปแบบ บางชนิดที่เคยหามารับประทานยาก ๆ ในสมัยอดีตก็มีการพยายามหามาทำการจำหน่ายเพื่อเพิ่มช่องทางมากขึ้น และเป็นตัวเลือกเพื่อให้ผู้บริโภคเองได้มีโอกาสได้ลิ้มรสชาติขนมไหว้พระจันทร์ของแต่ละมณฑลได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นขนมไหว้พระจันทร์ของทางยูนานก็มีผู้จำหน่ายหลากหลายเจ้านำเข้ามาจำหน่ายในยุคสมัยใหม่เพื่อรองรับกลุ่มคนที่พยายามจะเสาะหารสชาติความแปลกใหม่ของขนมไหว้พระจันทร์ที่มีมากมาย รวมถึงรูปแบบของขนมไหว้พระจันทร์แบบกวางตุ้งที่เคยนิยมกันมาจากสมัยอดีตสู่ปัจจุบันที่ไม่เคยลดความนิยมลงไปแม้แต่น้อย จึงทำให้เกิดการพัฒนาตัวไส้ขนมจากเพียงไส้ทั้ว ๆ ไปที่เคยทำมาแต่สมัยอดีตจากทางประเทศจีนเช่นไส้ถั่ว ไส้ฟัก ไส้ลูกบัว ไส้พุทราจีน ได้ถูกพัฒนาต่อยอดรูปแบบของตัวไส้ออกไปอย่างมากมายหลากหลาย ดังเช่นเมื่อชาวไทยเชื้อสายจีนมาถึงเมื่องไทย ชาวจีนเองที่มีความสามารถในเรื่องของการทำขนมแบบโบราณก็มาทำการเปิดร้านในประเทศไทย ก็มองหาวัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่นั้น ๆ เพื่อมาต่อยอดของการทำธุรกิจดั้งเช่นขนมไหว้พระจันทร์ไส้ทุเรียนหมอนทองก็เป็นอีกหนึ่งร่องรอยในเรื่องของการต่อยอดธุรกิจจากสมัยอดีต สู่ความนิยมจนถึงปัจจุบัน หรือจากขนมไหว้พระจันทร์ซึ่งใช้เป็นของไหว้เพื่อบวงสรวงสิงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ สู่ของฝากประจำเทศกาล ซึ่งใช้ในการมอบเพื่อขอบคุณญาติผู้ใหญ่ หรือกลุ่มธุรกิจลูกค้ามอบให้เป็นของแทนคำขอบคุณ เป็นต้น จึงทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ของการพัฒนาขนมไหว้พระจันทร์จากรูปแบบไส้ขนมที่มีความหลากหลายรูปแบบ หลากหลายรสชาติมากมาย สู่รูปแบบของแพ็กเกจจิ้ง (กล่องใส่ขนม) ที่ถูกออกแบบต่อยอดจากความสวยงามเพื่อใช้บรรจุขนม สู่การนำไปใช้เพื่อประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ เช่นสามารถนำไปทำเป็นปิ่นโต เก็บของที่ละลึก บรรจุอาหารเพื่อใช้ในการถนอมอาหารเป็นต้น สู่รูปแบบการผลิตลวดลายความสวยงามบนหน้าขนมเปี๊ยะที่จะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของยี่ห้อนั้น ๆ หรือมีรูปแบบรูปทรงที่เป็นของยี่ห้อนั้น ๆ นอกจากความหลากหลายของตัวไส้ที่ถูกคิดค้นออกมาเพื่อไม่ให้เหมือนผู้ใด รสชาติความอร่อยหรือการใส่ใจในการผลิต จนถึงรูปแบบ รูปทรง ลวดลายของหน้าขนมไหว้พระจันทร์จะต้องเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่ซ้ำใคร และไม่มีใครเหมือน

รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนไปทุกปีเพื่อเป็นการเพิ่มยอดขาย


     จากข้อมูลเส้นทางความเป็นมาของขนมไหว้พระจันทร์ในเบื้องต้น จากขนมประจำเทศกาลเพื่อใช้ในการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สู่เส้นทางอาชีพในการสร้างรายได้ สู่เส้นทางงานศิลป์บนหน้าขนม ซึ่งร้าน C.C.Create (ซีซีครีเอท) ได้เล็งเห็นความสำคัญของความต้องการของลูกค้าที่เน้นรสชาติความอร่อย ความแปลกใหม่ของตัวไส้ขนมไหว้พระจันทร์ แต่ในสภาวะการแข่งขันทางด้านธุรกิจของขนมไหว้พระจันทร์ การที่ขนมมความอร่อยหลากหลายในรสชาติก็ต้องมุ่งเน้นความสวยงามของรูปแบบตัวขนม เพื่อให้ผู้ที่ได้ซื้อขนมไปนอกจากจดจำในรสชติความอร่อยแล้ว ก็ต้องจดจำรูปแบบของตัวขนมที่โดดเด่นสวยงามและมีรูปแบบของลวดลายที่ไม่เหมือนใคร ทางร้าน C.C.Create (ซีซีครีเอท) ของเราจึงได้เล็งเห็นความต้องการของผู้ผลิตขนมไหว้พระจันทร์ หรือบริษัทห้างร้านที่มีความต้องการรูปแบบของขนมไหว้พระจันทร์ที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ในแบบของตนเองที่ไม่เหมือนใคร จึงได้เกิดแนวคิดในการรับผลิตพิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์ที่เป็นรูปแบบเฉพาะที่ไม่เหมือนใครเพื่อตอบสนองความต้องการของร้านค้าที่รับผลิตขนมไหว้พระจันทร์ หรือแบรนด์เนมเจ้าต่าง ๆ และรวมถึงบริษัทห้างร้านที่มีความประสงค์หรือความต้องการที่อยากจะผลิตขนมไหว้พระจันทร์ที่มีเอกลักษณ์พิเศษในแบบของท่านเอง ดังนั้นทางร้าน C.C.Create (ซีซีครีเอท) จึงคิดออกแบบผลิตพิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์จากไม้สักทองโดยที่สามารถทำรูปแบบลวดลายต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ เช่นรูปแบบโลโก้ ลวดลายต่าง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ทั้งรูปแบบหรือรูปทรงที่สามารถกำหนดขนาดต่าง ๆ ได้ตามความต้องการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุก ๆ ท่าน เราจึงเป็นผู้นำด้านการทำพิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์แบบประกบซึ่งมีวิธีการใช้งานที่ง่ายเหมาะกับมือใหม่ หรือมือเก๋า ๆ ที่มีความชำนาญในการทำขนมไหว้พระจันทร์มาก่อน สำหรับพิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์ของทางร้านเราจึงมุ่งเน้นการใช้งานที่สดวก และใช้งานง่าย รวมถึงตอบสนองความต้องการของการทำพิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์ในรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร มีเอกลักษณ์และมีรูปแบบที่เป็นของท่านแต่เพียงผู้เดียวไม่ซ้ำกับใครและไม่เหมือนพิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์แบบทั่ว ๆ ไปที่มีขายตามท้องตลาด และยังต่อยอดรูปแบบของพิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์ในแบบต่าง ๆ เพื่อตอบสนองการใช้งานให้กับกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการที่จะนำไปประยุกต์เพื่อผลิตสินค้าในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการของลูกค้าอีกด้วย

 

Visitors: 42,861