Ep.1 ตาลปัตร-พัดรอง ความศรัทธาสู่พุทธศิลป์งานไม้สักทองแกะสลัก
Ep.1ตาลปัตร-พัดรอง
ความศรัทธาสู่พุทธศิลป์งานไม้สักทองแกะสลัก
ตาลปัตร (อ่านว่า ตาละปัด) ตามรูปศัพท์แปลว่า พัดใบตาล, พัดใบลานตาลปัตร ของเดิมเป็นพัดที่ทำจากใบตาลหรือใบลานสำหรับพัดตัวเองเวลาร้อนหรือพัดไฟ ใช้กันทั้งพระและคฤหัสถ์ ต่อมามีการต่อด้ามให้ยาวขึ้นและใช้บังหน้าเวลาทำพิธีทางศาสนาของพระสงฆ์ เช่นในเวลาให้ศีลและให้พร และแม้ภายหลังจะใช้ผ้าสีต่างๆ หุ้มลวดหรือไม้ไผ่ซึ่งขึ้นรูปเป็นพัดก็อนุโลมเรียกว่าตาลปัตรตาลปัตร ปัจจุบันนิยมปักลวดลายศิลปะแสดงสัญลักษณ์ของงานและอักษรบอกงานพร้อมวันเดือนปีไว้ด้วยทำให้มีคุณค่าทางศิลปะขึ้นนอกเหนือจากวัตถุประสงค์เดิม ตาลปัตร ที่ใช้ทั่วไปเรียกว่า พัดรอง เป็นคู่กับคำว่า พัดยศ ซึ่งเป็นพัดพระราชทานบอกตำแหน่งชั้นสมณศักดิ์ จึงนิยมเรียกันว่า ตาลปัตรพัดยศ
อ้างอิง : วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี
คำว่า “ตาลปัตร” มาจากคำว่า “ตาล” รวมกับคำว่า “ปัตร” ที่แปลว่า ใบ รวมความแปลว่า ใบตาล ชาวบ้านสมัยพุทธกาลในอินเดียและลังกานำมาดัดแปลงเป็นพัดใช้โบกลม บังแดดสำหรับพระสงฆ์ แรกเริ่มนำมาใช้คงเป็นเพียงเครื่องบริขาร ต่อมานำไปใช้ในการแสดงธรรมด้วย
-สมัยพุทธกาลมีคำบาลีกล่าวถึงเรื่องพัดหรือตาลปัตรว่า “จิตรวิชนี” แปลว่า พัดอันวิจิตรงดงาม ทำด้วยอะไรไม่ปรากฏแน่ชัด แต่เป็นสิ่งที่พระสงฆ์ถือขึ้นบนธรรมาสน์ในเวลาแสดงพระธรรมเทศนา ปัจจุบันพัดของพระสงฆ์ซึ่งใช้ในงานพิธีต่างๆ แม้จะทำด้วยวัสดุอย่างอื่นยังคงเรียกว่า “ตาลปัตร”
-“ตาลปัตรพัดยศ” ส่วนใหญ่นั้นทำด้วยผ้าแพร ผ้าโหมดหรือผ้าลายดอก ซึ่งปัจจุบันมีอายุการใช้งานไม่นานนัก เป็นเหตุให้เมื่อเวลาผ่านไปทำให้วัสดุดังกล่าวเสื่อมสลายไปตามการเวลา ขั้นตอนในการทำตาลปัตรพัดยศแต่ละด้ามนั้นก็ต้องผ่านช่างที่มีความชำนาญในแต่ละด้าน งานออกแบบ งานขึ้นโครง จากนั้นก็ขึงผ้ากับโครงไม้ไผ่ที่ขึ้นแบบไว้ ผ้าที่ใช้ก็มีอาทิ ผ้าแพร ผ้าโหมด ผ้าไหมสี ผ้ากำมะหยี่ ผ้าสักหลาด ผ้าอัตลัด ผ้าลายดอก เป็นต้น จากนั้นก็ถึงขั้นตอนการปักชื่อต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญในการปักสะดึง ซึ่งมักจะปักด้ายดิ้นเงินหรือดิ้นทองหรือปักไหม สำหรับการปักไหมมีทั้งปักเรียบอย่างของจีนหรือปักด้วยการหนุนลายให้นูนขึ้นแบบญวน
-พัดยศ คือ เครื่องประกอบสมณศักดิ์ที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานแก่พระสงฆ์ผู้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนา การพระราชทาสมณศักดิ์พัดยศนั้นเป็นพระราชอำนาจตามโบราณราชประเพณี เพราะพระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก เพื่อให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถาวร เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนสืบไป พัดยศเป็นเครื่องบ่งบอกชั้นยศแต่ละชั้นของพระสงฆ์ผู้ที่ได้รับพระราชทาน และพัดยศมีเอกลักษณ์แห่ง ศาสนศิลป์อันประณีตที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างไว้ให้เป็นมรดกของชาติเพื่อให้อนุชนรุ่งหลังได้ชื่นชมศาสนศิลป์อันวิจิตรเหล่านี้
อ้างอิงข้อมูล
1) ณัฏฐภัทร จันทวิช. (2538). ตาลปัตรพัดยศ ศิลปะบนศาสนวัตถุ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์ จำกัด.
2) มินท์ อดุลย์รัฐธาดา. (2561). พัดยศ ศาสนศิลป์แผ่นดินไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ้ง จำกัด.
สรุป “ ตาลปัตร” หมายถึงพัดที่ทําจากใบลานหรือใบตาล เป็นพัดที่ชาวบานใช้เป็นปรกติ ธรรมดาสำหรับโบก บังแดด บังลม กระพือลม หรือใช้พัดให้ความเย็น มีหลายรูปแบบ และรูปทรง ทำด้วยวัสดุ ต่าง ๆ ตามฐานะของผู้ใช้ พระสงฆ์ใช้เป็นพัดสำหรับโบกหรือบังแดดเหมือนกับชาวบ้านทั่วไป มิได้ใช้ เป็นเครื่องบอกยศตำแหน่งหรือใช้บังหน้าอย่างสมัยปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันวัสดุที่ใช้ทําพัดถูกดัดแปลงไป ส่วนใหญ่ทําเพื่อความสวยงามและยังคงใช้เพื่อวัตถุประสงค์เช่นเดิม เช่น พัดรองหรือพัดยศที่แสดงถึง ลําดับสมณศํกดิ์
อ้างอิงข้อมูล : การศึกษาวิเคราะห์ตาลปัตรสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ปริญญานิพนธ์ ของ สุชีรา ผ่องใส
ตาลปัตร-พัดรอง ความศรัทธาสู่พุทธศิลป์งานไม้สักทองแกะสลัก
โดยรวมพัดรอง คือพัดหรือตาลปัตรที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อเป็นที่ระลึกในการพระราชพิธีสำคัญ หรือที่ประชาชนสร้างขึ้นเองตามคติทางพระพุทธศาสนา พัดรองเป็นพัดที่ทำขึ้นเพื่อให้พระสงฆ์ ใช้ในพิธีทำบุญทั่วไป จัดเป็นพัดสำรองหรือแทนพัดยศ เพราะพัดยศจะใช้เฉพาะในงานพระราชพิธีเท่านั้น ในงานทั่วไปจึงนิยมสร้างพัดสำรองถวายพระสงฆ์ เพื่อใช้ในงานทางศาสนพิธี ที่เรียกว่าพัดรอง พัดรองโดยทั่วไปจะมีรูปทรงเป็นพัดหน้านาง (เหมือนพัดยศ) คือเป็นรูปไข่คล้ายใบหน้าสตรี ปักลวดลายและอักษรตามต้องการต่าง ๆ เช่่นบ่งบอกงานที่จัดขึ้น วาระโอกาศต่าง ๆ เช่นครบรอบวันสำคัญ เช่นงานกฐินงานอุปสมบท งานวันเกิด งานครบรอบวันเกิด วันมรณะ และตราสัญลักษณ์สำคัญ ๆ ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้จัดสร้างว่าจะใช้ในวาระใด
ตาลปัตร คือสิ่งของในเครื่องอัฐบริขารของใช้ที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุสงฆ์ ทั้งในการอุปสมบท หรือการในการทอดกฐิน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์ และมีความสำคัญต่อสังคมในด้านวัฒนธรรม และศาสนา ความเชื่ออันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่าง ๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา โดยรูปแบบความเป็นมาของพัดรอง หรือตาลปัตรนั้นที่มีมาแต่โบราณได้เกิดการปรับเปลี่ยน และเปลี่ยนแปลงสูงสุดในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงได้ทำการปรับเปลี่ยนรูปทรงของตาลปัตรที่ใช้กันมาในอดีต โดยเฉพาะรูปแบบหรือรูปทรง ที่ไม่มีความสวยงาม ให้มีรูปแบบที่สวยงามขึ้นมาโดยเรียกรูปของตาลปัตรหรือพัดรองว่า "ทรงหน้านาง" เนื่องจากรูปแบบหรือรูปทรงที่มีมาในสมัยอดีตนั้น มีรูปทรงที่ไม่สวยงาม พระองค์จึงดำรัสให้มีการปรับเปลี่ยนรูปทรงให้มีความสวยงามขึ้น ตามรูปทรงโครงหน้าของสตรีในสมัยอดีตจึงทำให้เกิดพัดรองหรือตาลปัตร ในรูปทรงหน้านางขึ้นมาในสมัยนั้น และได้ใช้ต่อเนื่องอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพัดทรงหน้านางนั้นได้ถูกนำมาใช้ในการให้ชั้นยศของพระภิกษุสงฆ์ เช่นพัดที่บ่งบอกชั้นการเรียนเปรีญธรรม ตั้งแต่ระดับ 1-9 และรูปแบบตาลปัตรพัดยศซึ่งมีรูปแบบเฉพาะที่บ่งบอกชั้นยศแต่ละชั้นของพระสงฆ์ผู้ที่ได้รับพระราชทาน
รูปแบบตาลปัตรในสมัยรัชการที่ ๔ ก่อนการปรับเปลี่ยนรูปทรงมาเป็นทรงหน้านาง
พัชนีด้ามงาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นสามเณร ในแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ขอบพระคุณภาพจาก : http://www.sookjai.com/index.php?topic=252228.0
จากรูปแบบหรือแนวทางในการสร้างสรรค์พัดรองหรือตาลปัตรที่เกิดขึ้นมานั้น ร้าน C.C.Create ได้ทำการพัฒนาต่อยอดรูปแบบของพัดรองให้มีรูปแบบของกระบวนการเรื่องของวัสดุนั้นก็คือ การใช้วัตุถุดิบงานแกะสลักไม้สักทอง ซึ่งทางเรามีความรู้และความเข้าใจในการแกะสลักไม้สักทองจึงได้ทำการปรับปรุง ปรับเปลี่ยน ใส่แนวคิดการออกแบบหรือการสร้างสรรค์ให้มีรูปแบบที่เฉพาะตัวและสวยงาม และไม่เหมือนใคร จึงก่อเกิดรูปแบบของพัดรองหรือตาลปัตร ที่ใช้วัสดุคือไม้สักทองมาทำการแกะสลัก ออกแบบลวดลายด้วยรูปแบบศิลปวัฒนธรรมไทย-จีน ให้มีความสวยงามโดดเด่นไม่เหมือนใคร และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของร้าน C.C.Create จึ่งก่อให้เกิดผลงาน ตาลปัตร-พัดรอง ความศรัทธาสู่พุทธศิลป์งานไม้สักทองแกะสลัก ให้ผู้ที่สนใจได้นำผลงานของเราที่ต่อยอดแนวคิดจากอดีตสู้ผลงานอันทรงคุณค่าต่อไป
ผลงานตาลปัตร-พัดรอง ทรงหน้านาง : ลายเครื่องบูชาอย่างจีนบูชาพระพุทธปฎิมา
ฉลุลาย "ฟังเซิ่ง" ลายสี่เหลี่ยมแห่งชัยชนะเป็นลวดลายแบบต่อเนี่อง
ผลงานตาลปัตร-พัดรอง ทรงหน้านาง : ลายเครื่องบูชาอย่างจีน
ฉลุลาย "อวั้นจื้อจิ่น" หรือ "บ่วง" ชาวจีนเรียกลายสวัสดิกะว่าบ่วง
แปลว่าหมื่นแสดงถึงความมีมากมายอย่างไม่สิ้นสุด (อนันต์)
ผลงานตาลปัตร-พัดรอง ทรงหน้านาง : ลายพระมหากัจจายนะ (วัดสังกระจาย)
พื้นหลังลาย "จิ่วเหลียนหวน" หมายถึงความสุข ความร่ำรวยไม่จบสิ้น