วัดสามพระยา...วิจิตรศิลป์...เครื่องโต๊ะ-เครื่องบูชาจีน ตอนที่ 1.
วัดสามพระยา...วิจิตรศิลป์ "เครื่องโต๊ะ-เครื่องบูชาจีน" ตอนที่ 1
วัดสามพระยา สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 1 โดยหลวงวิสุทธิโยธามาตย์ (ตรุษ) ขุนนางเชื้อสายมอญและญาติ ได้อุทิศที่ดินพร้อมบ้านเรือนของขุนพรหม (สารท) ผู้เป็นน้องชายซึ่งเป็นนายช่างร่วมควบคุมการก่อสร้างพระมณฑปพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ตามพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 1 และ ได้เสียชีวิตลง ถวายเป็นวัดขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ขุนพรหม (สารท) แล้วตั้งนามว่า วัดบางขุนพรหม สมัยรัชกาลที่ 3 วัดบางขุนพรหมชำรุดทรุดโทรม พระยาราชสุภาวดี (ขุนทอง) พระยาราชนิกุล (ทองคำ) และพระยาเทพวรชุน (ทองห่อ) ซึ่งเป็นบุตรของนางพวา น้องสาวคนสุดท้องของหลวงวิสุทธิโยธามาตย์ (ตรุษ) และขุนพรหม (สารท) ได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์วัด สำเร็จแล้วน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามว่า วัดสามพระยา ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปีพุทธศักราช 2366
พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาลด 2 ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบแบบจีน กรอบหน้าบันฝังถ้วยกระเบื้องเคลือบเป็นระยะ หน้าบันปูนปั้นรูปแจกันดอกไม้ พานผลไม้ ประดับถ้วยจานกระเบื้องเบญจรงค์และลายคราม คอสองของหลังคาเขียนภาพจิตรกรรมแบบจีน ตอนบนประดับลายปูนปั้น ติดถ้วยกระเบื้องเคลือบ เชิงชายลาดหลังคาฝังถ้วยเบญจรงค์สลับกับถ้วยลายคราม ซุ้มประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นช่อดอกพุดตาน ใต้กรอบล่างของหน้าต่างทำเป็นฐานสิงห์ บานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำ ลายพันธุ์พฤกษาแบบจีน มีระเบียงยกพื้นล้อมรอบ เสาใหญ่ทรงสี่เหลี่ยมตอนบนปลายสอบเข้า มีบันไดเล็กทางด้านข้างบริเวณมุมทั้งสี่ เชิงราวบันไดตั้งตุ๊กตาหินรูปสิงโตแบบจีน ภายในมีเพดาน 5 ช่อง ลงสีชาดเขียนลายทองเป็นช่อดอกเบญจมาศ ดอกพุดตานและนก ผนังตอนบนสุดเขียนลายทองรูปหงส์มังกร ผนังระหว่างช่องหน้าต่างเขียนลายโต๊ะเครื่องบูชา ผนังส่วนที่หักมุมน้อยเป็นกรอบหน้าต่างเขียนสีรูปดอกและใบบัว บนหน้าต่างด้านละ 5 ช่อง สองช่องแรกที่อยู่ใกล้พระประธานมีภาพเขียนสีลายดอกพุดตานและผีเสื้อ ช่องกลางลายดอกพุดตานและค้างคาว และช่องสุดท้ายลายนก ดอกไม้ และมังกร ผนังจากขอบล่างหน้าต่างลงมาปูหินอ่อน ผนังด้านหลังพระประธานเขียนลายโต๊ะเครื่องบูชา บานประตูเขียนรูปเซี่ยวกาง ขอบพระคุณข้อมูลจาก : http://www.thapra.lib.su.ac.th/thapra/
วัดสามพระยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
ตั้งอยู่เลขที่ 165 ถนนวัดสามพระยา แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระประธานภายในพระอุโบสถ
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง ประทับบนรัตนบัลลังก์
กราบสวัสดีลูกค้าร้าน C.C.Create ทุก ๆ ท่าน หลาย ๆ ท่านคงมีคำถามว่าทำไม ทางร้านถึงได้ทำข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของวัดสามพระยาแห่งนี้ กระผมต้องขออธิบายเรื่องราวในเบื้องต้นว่า หลาย ๆ ท่านคงเคยจะพอได้ยินคำว่า "เครื่องโต๊ะ...เครื่องบูชาแบบจีน" หรือ "โต๊ะบูชาอย่างจีน" ผมเองก็เป็นคนนึงที่สนใจและศึกษาเรื่องราวของการจัดเครื่องโต๊ะบูชาอย่างจีนตั้งแต่สมัยอดีต เคยทำการหาข้อมูล หาความรู้ ศึกษาและสะสม เคยรวมกลุ่มกับเพื่อน ๆ จัดตั้งเครื่องโต๊ะเครื่องบูชาตามโอกาศต่าง ๆ ผมเองได้เห็นรูปแบบการจัดเครื่องโต๊ะเครื่องบูชาอย่างจีนจากหนังสือตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น ของกรมพระยาดํารง ราชานุภาพ ได้เห็นภาพถ่ายโบราณเมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 ก็เกิดความประทับใจเนื่องจากสมัยนั้นผมต้องทำศิลปะนิพนธิ์เกี่ยวกับเรื่องโต๊ะหมู่บูชา มีเค้าโครงประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเครื่องโต๊ะ ได้พบเห็นภาพจากหนังสือ และเกิดความประทับใจเป็นอย่างมาก ได้อ่านได้ศึกษาหาข้อมูลได้เห็นพระอัจฉริยภาพของรัชกาลที่ 5 ที่ผสมผสานวัฒนธรรมไทย-จีน ออกมาเป็นรูปแบบเครื่องโต๊ะเครื่องบูชาได้ลงตัวสวยงาม จึงทำให้เกิดความชอบความประทับใจตั้งแต่นั้นมา และก็ทำการสืบหาข้อมูลความเป็นมา แม้กระทั่งการตีบทความจากหนังสือตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น จึงเกิดแนวคิดที่อยากจะต่อยอดขัอมูลที่ได้ศึกษาหาความรู้มาแบ่งปันให้เกิดประโยชน์เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้และแนวคิด จากที่กล่าวมาทั้งหมด แน่นอนครับก่อนที่มาเป็นรูปแบบการจัดตั้งเครื่องโต๊ะในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น เบื้องต้นความเป็นมาก็คงจะต้องได้แนวคิดมาจากภาพจิตกรรมฝาผนัง ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องราวของรูปแบบเครื่องมงคล เครื่องโต๊ะอย่างจีน ผมจึงเกิดแนวคิดที่อยากจะต่อยอดข้อมูลจากต้นทาง โดยการถอดรหัสภาพวาดจิดกรรมฝาผนังที่เขียนเป็นรูปแบบเครื่องโต๊ะอย่างจีนว่ามีความหมายมงคลอะไรซ่อนอยู่บ้าง จึงทำให้เกิดการเดินทางไปหาขัอมูล ชมภาพของจริงเพื่อที่จะนำภาพมาถอดความหมายอันเป็นมงคล ที่ครูบาอาจารย์ในสมัยอดีตได้ถ่ายทอดผลงานไว้เป็นผลงานจิตรกรรมฝาผนังอันทรงคุณค่า และแน่นอนครับเป้าหมายแรกก็คือที่วัดสามพระยาแห่งนี้ครับ ในบทความแรกนี้ผมจึงอยากจะถ่ายทอดความงดงามของจิตกรรมฝาผนังของวัดสามพระยาแห่งนี้ ว่ามีความวิจิตรงดงามเพียงไร อยากให้ทุก ๆ ท่านได้รับชมความงามของภาพจิตกรรมฝาผนังลายเครื่องบูชาอย่างจีนที่วัดสามพระยาแห่งนี้ไปพร้อม ๆ กันครับ
ภาพวาดจิดกรรมฝาผนังระหว่างช่องหน้าต่าง ภาพที่ 1
ภาพวาดจิดกรรมฝาผนังระหว่างช่องหน้าต่าง ภาพที่ 2
ภาพวาดจิดกรรมฝาผนังระหว่างช่องหน้าต่าง ภาพที่ 3
ภาพวาดจิดกรรมฝาผนังระหว่างช่องหน้าต่าง ภาพที่ 4
ภาพวาดจิดกรรมฝาผนังระหว่างช่องหน้าต่าง ภาพที่ 5
ภาพวาดจิดกรรมฝาผนังระหว่างช่องหน้าต่าง ภาพที่ 6
ภาพวาดจิดกรรมฝาผนังบางส่วนบริเวณด้านหลังพระประธาน
ภาพวาดจิดกรรมฝาผนังบางส่วนบริเวณด้านหลังพระประธาน
ภาพวาดดอกไม้มงคล - แจกัน - เครื่องมงคล บริเวณเสา
บานหน้าต่างภาพในพระอุโบสถ
สำหรับในบทความนี้ผมได้นำรูปแบบภาพจิตกรรมฝาผนังบางส่วนภายในพระอุโบสถวัดสามพระยาแห่งนี้ ในบทความหน้าผมจะทำการขยายในส่วนของความหมายต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ภาพในภาพเขียนจิตกรรมฝาผนังแห่งนี้ ว่าในภาพแต่ละส่วนได้แฝงรูปแบบความงาม ความมงคลอย่างไรไว้บ้าง เช่นภาพของภาชนะต่าง ๆ ที่ใช้เสียบดอกไม้มีชื่อเรียกว่าอะไร ดอกไม้แต่ละประเภทมีชื่อย่างไร มีความหมายอย่างไร ภาพผลไม้ รวมถึงส่วนจิปาถะอื่น ๆ ที่แฝงอยู่ในภาพจิตกรรมฝาผนังของวัดสามพระยาแห่งนี้ ถ้าบทความที่่ทางร้าน C.C.Create ที่ได้จัดทำขึ้นมานี้ ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็ช่วยกดถูกใจ...ช่วยแชร์...เป็นกำลังใจให้กับทางร้านด้วยนะครับ...ขอบพระคุณ
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments